twitter
    ร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง "ครูสอนดี"

ภารกิจหลักของคณะกรรมการระดับท้องถิ่นในกระบวนการคัดเลือกครูสอนดี

ภารกิจหลักของคณะกรรมการระดับท้องถิ่นในกระบวนการคัดเลือกครูสอนดี มีดังนี้ ๑. ประชุมทาความเข้าใจโครงการ ประกาศ และคู่มือ
๒.ประชุมวางหลักเกณฑ์ แนวทาง ข้อกาหนด ดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางการเสนอชื่อขององค์กรสาธารณกุศลให้เขต เมืองพัทยา เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบลพิจารณา
(๒) กำหนดจำนวนครูที่สถานศึกษามีสิทธิเสนอเข้ารับการคัดเลือกเป็นครูสอนดี ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ และไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของครูที่สอนระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับประโยควิชาชีพ ในสถานศึกษา
(๓) กำหนดแนวทางการรวมสถานศึกษาซึ่งมีจานวนครูไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นครูสอนดี
(๔) กำหนดวันเวลาและสถานที่ ที่จะเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นครูสอนดี
(๕) กำหนดตัวบ่งชี้ในการคัดเลือกครูสอนดีตามที่เห็นสมควร (ไม่กาหนดก็ได้)
(๖) กำหนดแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกครูสอนดีขั้นตอนแรก
(๗) กำหนดวัน เวลา สถานที่ยื่นข้อทักท้วงผลการคัดเลือกครูสอนดี
(๘) พิจารณาว่าจะกาหนดให้มีการสังเกตการสอนของครูที่ได้รับการคัดเลือกเป็นครูสอนดีในขั้นตอนแรก หรือไม่ (ถ้ากำหนดให้มีการสังเกตการสอนควรวางแนวทางการสังเกตการสอนด้วย)
(๙) กำหนดแนวทางการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูสอนดีในขั้นตอนสุดท้าย
(๑๐) กำหนดช่วงเวลาที่จะดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงกรอบเวลาที่กำหนดในปฏิทินดำเนินงาน (ควรสอดคล้องกับช่วงเวลาที่คณะกรรมการระดับจังหวัดกำหนด)
(๑๑) สำรวจตัวเลขจำนวนครูทั้งหมดในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการคัดเลือกครูสอนดีรอบแรก ไม่เกินร้อยละ ๔ ของครูทั้งหมดในพื้นที่
(๑๒) อื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
๓.ประชุมเพื่อคัดเลือกครูสอนดี รอบแรก
๔.รับฟังข้อทักท้วงผลการคัดเลือกครูสอนดี ตรวจสอบและพิจารณาข้อทักท้วง
๕. สังเกตการสอนของครูที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูสอนดีในขั้นตอนแรก (ถ้ากำหนดให้มีการสังเกตการสอน)
๖.ประชุมกลั่นกรองผลการคัดเลือกครูสอนดี รอบสุดท้าย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น