twitter
    ร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง "ครูสอนดี"

โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง "ครูสอนดี"

กระบวนการคัดเลือกครูสอนดี

เป้าหมาย
. ดำเนินการคัดเลือก ครูสอนดี ประจำปี ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐๓ คน 
. ดำเนินการคัดเลือก ครูผู้รับทุนครูสอนดี ประจำปี ๒๕๕๔ จำนวน ๖ คน

คุณสมบัติของครูสอนดี  ผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้เป็น ครูสอนดี ต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ
๑. ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพครูสอนพิเศษเป็นอาชีพหลัก
๒. เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
() เป็นครู ครูอัตราจ้าง หรือลูกจ้างชั่วคราวซึ่งปฏิบัติงานสอนในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือระดับประโยควิชาชีพ ในสถานศึกษาของรัฐ เอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() เป็นผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการสอนในสถานศึกษาและปฏิบัติงานสอนในระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษา หรือระดับประโยควิชาชีพ ด้วย ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา
() เป็นครูสอนเด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในสถานศึกษาของรัฐ เอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
() เป็นครูที่สอนในรูปแบบการศึกษาทางเลือก
๓. เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ดี มีผลการสอนที่ทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จความก้าวหน้าทางการศึกษา หน้าที่การงาน การดำเนินชีวิต และเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ยกย่องของลูกศิษย์ เพื่อนครูและชุมชน

คุณสมบัติของครูผู้รับทุนครูสอนดี 
๑. ต้องเป็นผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นครูสอนดี
๒. เป็นครูสอนเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษาหรือนอกสถานศึกษา
๓. หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการระดับจังหวัดกำหนด

หลักเกณฑ์การคัดเลือกครูสอนดี และแนวทางพิจารณา   ดังต่อไปนี้
. จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ดี  
() มีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
) จัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนโดยเน้นทักษะกระบวนการที่เหมาะสมกับลักษณะผู้เรียน ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นผลดี
) คิดค้นวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการผลิตสื่อ อุปกรณ์เพื่อช่วยในการเรียนการสอน
) ติดตามประเมินผลผู้เรียน และนำผลของการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
) การเรียนการสอนสามารถสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนเรียนด้วยความสุขและมีแรงบันดาลใจที่จะใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม
() มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
) เป็นตัวอย่างในการพัฒนาตนเอง ด้วยการค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ
) แสวงหาโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ตลอดจนเรียนรู้จากชีวิตจริงของคนทุกวัย

() เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
) มีการเชิญบุคคลในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้
) สามารถนำสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชนมาสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน

. มีผลการสอนที่ทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จและความก้าวหน้าในทางการเรียน หน้าที่การงาน และ  การดำเนินชีวิต   แนวทางพิจารณา
() ผู้เรียนได้รับการประเมินว่ามีความรู้ทางวิชาการในระดับดี หรือได้รับรางวัลด้านวิชาการ ด้านจริยธรรม หรือด้านศิลปวัฒนธรรม
() ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดี มีความสุขที่จะเรียนรู้ และมีความสุขที่จะไปเรียน
() ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนมีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
() ศิษย์เก่าส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จในชีวิตด้านการเรียน ด้านอาชีพ หรือด้านการดำเนินชีวิต โดยสะท้อนได้ว่าเป็นผลมาจากการสอนของครู
. เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ยกย่องของลูกศิษย์ เพื่อนครู และชุมชน   แนวทางพิจารณา
() เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นที่เคารพนับถือของศิษย์และสังคมทั้งในด้านความเป็นครู และเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตที่ดีมีคุณธรรม และความพอเพียง
() เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในชุมชน เป็นที่ยกย่องของผู้บริหาร เพื่อนครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน
() มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยไม่เห็นแก่ลาภยศหรือผลตอบแทน
() เอาใจใส่ อุทิศเวลา และเป็นที่พึ่งให้ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและการดำเนินชีวิต อย่างเสมอต้นเสมอปลายและทั่วถึง
() มีความภาคภูมิใจในการเป็นครู และมีความสุขในการประกอบวิชาชีพครู

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น